_20160905140200

ลงทะเบียนออนไลน์

หลักการเหตุผล

การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมเป็นหนึ่งในสี่ภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย นับเป็นเอกลักษณ์ เป็นโอกาส และเป็นความท้าทาย ซึ่งมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งมีนโยบาย กลไก และการดำเนินโครงการเพื่อให้บรรลุถึงภารกิจนี้ ผ่านการตีความแตกต่างกันไปตามบริบทของสถาบันที่มีทุนทางศิลปะและวัฒนธรรมอันเป็นทั้งมรดกที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ในพื้นที่แต่ละแห่ง

การนำทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญทางวิชาการด้านต่างๆของอุดมศึกษาไปใช้ภายใต้บทบาท facilitator เพื่ออำนวยให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ที่ยึดโยง “คุณค่า” และ “มูลค่า” ของทุนทางศิลปะและวัฒนธรรม เป็นกระบวนการสำคัญที่อุดมศึกษาสามารถตอบโจทย์ภารกิจที่ 4 นี้ ในเชิงพื้นที่และเชิงบูรณาการศาสตร์ต่างๆได้ ดังมีบทเรียนความสำเร็จที่ปรากฏอยู่ในประเทศและสอดคล้องกับแนวโน้มการพัฒนาในกระแสโลก

หลักสูตร ภารกิจที่ 4 กับปฏิบัติการจัดทำแผนวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่(Mission 4 : Cultural Mapping for Area-Based Collaborative Development) เป็นหลักสูตรความร่วมมือระหว่างสถาบันคลังสมองของชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสถาบันอุดมศึกษา ที่จัดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการติดตั้งเครื่องมือเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ในมิติต่างๆผ่านความร่วมมือของชุมชน และเพื่อนำไปสู่การวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ต่อไป

วัตถุประสงค์

เพื่อติดตั้งเครื่องมือสำหรับนักวิจัยหรือนักวิชาการในการเก็บและเชื่อมโยงข้อมูลด้านศิลปะและวัฒนธรรม ที่จะนำไปสู่นวัตกรรมการพัฒนาพื้นที่บนฐานความร่วมมือของชุมชนในมิติต่างๆ ผ่านมรดกทางศิลปวัฒนธรรมทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ โดยมีนัยของการพัฒนาอย่างยั่งยืน และหนุนนำภารกิจการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของสถาบันอุดมศึกษาจากการบูรณาการศาสตร์ในสาขาต่างๆ

ขอบเขตเนื้อหา

ภารกิจที่ 4 กับ แนวคิดและแนวปฏิบัติว่าด้วยการวิจัยและพัฒนาเชิงพื้นที่
(Mission 4 and Area-Based Collaborative Research Development)
o บทบาทของสถาบันอุดมศึกษากับการตอบโจทย์ภารกิจการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมที่บูรณาการศาสตร์ต่างๆ
o แนวคิดและแนวทางการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาพื้นที่ผ่านมิติศิลปะและวัฒนธรรม
กระแสโลกว่าด้วยการพัฒนาเมือง
(Global Trends towards City and Community Development)
o แนวโน้มของโลกในการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาเมือง
o บทเรียนความสำเร็จจากประเทศต่างๆ
กรณีศึกษาบทเรียนความสำเร็จในประเทศไทย (Success Cases in Thailand)
o กรณีศึกษาจากจังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดสงขลา
o แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับวิทยากรชุมชนจากพื้นที่ที่เป็นบทเรียนความสำเร็จ
หลักการและกระบวนการจัดทำแผนที่ทางวัฒนธรรม (Cultural Mapping)
o แนวทางและกระบวนการจัดทำ
o เรียนรู้เครื่องมือ
ดูงาน (Study Visit)
o ดูงานในพื้นที่ที่เป็นความร่วมมือระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัยในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
o แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับวิทยากรจากชุมชน
ลงพื้นที่ทดลองปฏิบัติงาน (Field Work)
o แบ่งกลุ่มทดลองลงพื้นที่เพื่อฝึกใช้เครื่องมือ
o คืนข้อมูลสู่ชุมชน
o ทดลองปรับ/ประยุกต์ใช้กับโครงการของผู้เข้าร่วมหลักสูตร

กำหนดการหลักสูตร

วันพุธที่ 12 – วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม 2559 ณ จังหวัดเชียงใหม่

เปิดรับสมัคร ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 23 กันยายน 2559
ปิดรับสมัคร 23 กันยายน 2559
ประกาศรายชื่อ 27 กันยายน 2559 ผ่านทาง website : www.knit.or.th
วันสุท้ายของการชำระค่าลงทะเบียน 30 กันยายน 2559

ค่าลงทะเบียน

พักเดี่ยว 30,000บาท

พักคู่ 27,000 บาท
ครอบคลุมค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้
o ค่าลงทะเบียน พร้อมเอกสารประกอบหลักสูตร 1 ชุด
o ค่าอาหารกลางวัน อาหารว่าง และเครื่องดื่มระหว่างการเข้าร่วมหลักสูตร
o ค่าที่พัก 4 คืน ในจังหวัดเชียงใหม่
o ค่าเดินทางภายในจังหวัดเชียงใหม่ระหว่างการเข้าร่วมหลักสูตร
o การรับ-ส่งระหว่างท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่และสถานที่จัดหลักสูตรตามตารางที่กำหนด
ค่าลงทะเบียนเข้าร่วมหลักสูตร ไม่รวม ค่าเดินทางไป—กลับ ระหว่างภูมิลำนาของท่านกับจังหวัดเชียงใหม่

ติดต่อสอบถาม

ติดต่อสอบถาม

สถาบันคลังสมองของชาติ
539/2 อาคารมหานครยิบซั่ม ชั้น 22B
ถ.ศรีอยุธยา ราชเทวี กรุงเทพฯ 10800
คุณสุชาวดี เพชรพนมพร มือถือ 081-623-2747Cherie_dm@yahoo.com
โทร. 02-640-0461 โทรสาร 02-640-0465