รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 31 มกราคม 2557
ค่าลงทะเบียน 1,500 บาท
รายละเอียดการสัมมนา

ลงทะเบียนออนไลน์

การสัมมนาได้ถูกเลื่อนออกไป
และจะแจ้งกำหนดการที่แน่นอน ให้ทราบในภายหลัง 
ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้

หลักการเหตุผล

หลักการเหตุผล

มหาวิทยาลัยกับสังคม (University Engagement) เป็นภารกิจหนึ่งที่สำคัญของมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ภายใต้ทรัพยากรที่จำกัดในขณะที่ความคาดหวังของสังคมที่เพิ่มมากขึ้นต่อคุณภาพบัณฑิตและการมีงานทำ  ดังนั้น มหาวิทยาลัยทั่วโลกรวมทั้งในประเทศสหราชอาณาจักรจึงมีการพัฒนาคุณภาพมหาวิทยาลัยในทุกด้าน ทั้งในด้านการบริหารจัดการ การเรียนการสอน  การวิจัย และการบริการวิชาการที่มุ่งเน้นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนโดยรวม

ในด้านการจัดการเรียนการสอนนั้น มหาวิทยาลัยต่างๆ ในสหราชอาณาจักร ได้ปรับเปลี่ยนระบบการเรียนการสอนและกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาให้แตกต่างจากระบบการเรียนการสอนแบบเดิม เพื่อพัฒนาคุณภาพบัณฑิตที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาเป็นผู้มีจิตสาธารณะอาสาทำงานเพื่อสังคมโดยไม่หวังผลตอบแทน (student volunteering) รวมทั้งเป็นผู้มีความรู้ทั้งในเชิงวิชาการตามศาสตร์ของแต่ละสาขาวิชา และความรู้เชิงทักษะในการประกอบอาชีพและการมีงานทำ  ซึ่งทักษะดังกล่าวครอบคลุมประเด็น ทักษะในการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม (student social enterprise) ความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา (student entrepreneurship) รวมทั้งการส่งเสริมกิจกรรมอาสาสมัคร ดังจะเห็นได้จากยุทธศาสตร์และกิจกรรมของหลายมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะดังกล่าว เช่น

  • The University of Northampton  เป็นมหาวิทยาลัยหนึ่งที่ได้ตั้งเป้าในการเป็น Social Enterprise University ไว้ในแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย  และได้มีการบูรณาการแนวคิดและหลักการของ Social enterprise กับการบริหารจัดการ การเรียนการสอน การจัดสรรงบประมาณ และกิจกรรมเพื่อนักศึกษาของมหาวิทยาลัยอย่างเต็มรูปแบบ จนได้รับการยอมรับว่าเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ในสหราชอาณาจักร ในการนำเรื่องกิจการเพื่อสังคมมาบูรณาการกับการเรียนการสอนและการวิจัยของมหาวิทยาลัย
  • The University of Oxford  มีการส่งเสริมและสนับสนุนการตั้ง Oxford Hub เพื่อเป็นหน่วยงานกลางในการหนุนเสริมให้นักศึกษามาทำกิจกรรมอาสาสมัครเพื่อพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น

นอกจากนี้ หากพิจารณาในระดับชาติแล้ว ประเทศสหราชอาณาจักรได้สร้างระบบและกลไกขึ้นมาหลายกลไกเพื่อส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อให้ภารกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมบรรลุผล เช่น การจัดตั้งหน่วยงานกลางชื่อ UnLtd และ National Association for College and University Entrepreneur (NACUE)เพื่อให้ความช่วยเหลือนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ต้องการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม เป็นต้น

จากการที่สถาบันคลังสมองของชาติ ได้จัดโปรแกรมนำผู้บริหารมหาวิทยาลัยจำนวน  28 ท่าน จาก 15มหาวิทยาลัย/หน่วยงาน ไปศึกษาดูงานในด้านนี้ ที่ประเทศสหราชอาณาจักร ในระหว่างวันที่ 7-14 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา โดยผู้เข้าร่วมการศึกษาดูงานได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ วิธีปฏิบัติที่ดี ตลอดจนสร้างความร่วมมือในด้านการพัฒนาการเรียนการสอน และการบูรณาการแนวคิดเรื่อง Student Volunteering, Student Social Enterprising และStudent entrepreneur กับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานเฉพาะด้านในมหาวิทยาลัยของสหราชอาณาจักรอย่างกว้างขวาง รวมทั้งนำมาสู่การปฏิบัติในระดับมหาวิทยาลัย  ระดับคณะ และระดับสาขาวิชาอย่างเป็นรูปธรรม

สถาบันคลังสมองของชาติจึงได้ร่วมมือกับ British Council จัดการสัมมนาเรื่อง “University Social Enterprising : Reflections from the U.K. Visit” ขึ้น ในวันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ 2557 ณ ห้องBallroom A โรงแรมปทุมวันพริ้นเซส  กรุงเทพฯ  เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ และวิธีปฏิบัติที่ดีกับวิทยากรทั้งจากสหราชอาณาจักรและมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่ได้เข้าร่วมการศึกษาดูงานที่ประเทศสหราชอาณาจักรครั้งนี้

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับวิทยากรที่มีประสบการณ์ตรงในด้านการทำงานอาสาสมัครและการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคมที่ผ่านกระบวนการส่งเสริมและสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยในประเทศสหราชอาณาจักร 
  2. เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์กับวิทยากรชาวไทยที่ได้เข้าร่วมการศึกษาดูงานในประเทศสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเด็น Student Social Enterprising  ตลอดจนการนำมาประยุกต์ใช้ในรายวิชา คณะ และมหาวิทยาลัยไทย
  3. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตและการพัฒนาการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย ตามแนวคิดSocial Enterprising ระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและกับมหาวิทยาลัยในประเทศสหราชอาณาจักร 

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมาย

นายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัย  อธิการบดี รองอธิการบดี  ผู้อำนวยการสำนัก  คณบดี  อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา และ ผู้สนใจทั่วไป   จำนวน 150 คน

วัน เวลา สถานที่

วัน เวลา สถานที่

วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ 2557 

เวลา 08.00-16.30 น.

ณ  ห้องบอลรูม A ชั้น M  โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส
แผนที่

กำหนดการ

กำหนดการ

 

08.00 – 08.45 ลงทะเบียน
08.45 – 09.15 กล่าวต้อนรับและพิธีเปิด

By  – The Representative from British Council

–  รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (tbc)

09.15 – 09.45 Invited  Speaker “Overview of Student Social Enterprising in the UK”

By  ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (tbc),
อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

09.45 – 10.00 ถาม-ตอบ
10.00 – 10.15 พักรับประทานอาหารว่าง
10.15 – 11.15 “Student Volunteering and Social Enterprising in the UK” (In English)

  • Oxford Hub ; student-power social change

By   Lucie Coussmaker, Oxford Hub Manager

  • Individual case : Street Arts in Northampton

By   Marvin Mudzongo, CEO, Ghostdavandal Originals Ltd ;

Graduate, University of Northampton

11.15 – 12.15 อภิปรายและถาม-ตอบ
12.15 – 13.30 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.30 – 14.00 Invited  Speaker “อุดมศึกษาอังกฤษ : สะท้อนความคิดจากการดูงาน”

By  ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช,  นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล

14.00 – 14.45 Reflections on University Social Enterprising from the Study Visits to universities in the UK  (ท่านละ 15 นาที) โดย

1.   ดร.จิตต์ภิญญา ชุมสาย ณ อยุธยา

รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สำนักนวัตกรรมการเรียนรู้

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

2.   ผศ.ดร.อังคีร์ ศรีภคากร

ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหารงานบุคคล

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3.   ผศ.ดร.สิริวุฒิ บูรณพิร

คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

14.45-15.00 ถาม-ตอบ
15.00-1600 Invited Speaker “Social Enterprise movement in Thailand”

โดย    คุณณัฐพงษ์ จารุวรรณพงศ์,
ผู้อำนวยการสำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ

16.00-16.30 ถาม-ตอบ และปิดการสัมมนา

หมายเหตุ  บางรายการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

อัตราค่าลงทะเบียน

อัตราค่าลงทะเบียน

ท่านละ  1,500  บาท ประกอบด้วย ค่าลงทะเบียน, เอกสาร/หนังสือประกอบการสัมมนา 1 ชุด, อาหารว่างและเครื่องดื่ม รวมทั้งอาหารกลางวัน

ขั้นตอนการลงทะเบียน

ขั้นตอนการลงทะเบียน




ติดต่อสอบถาม

ติดต่อสอบถาม

สถาบันคลังสมองของชาติ
นางสาวรัชนี  บุญพา  
โทรศัพท์ 02 640 0461 ต่อ 122
โทรสาร  02 640 0465
อีเมล์ 
ratchanee@knit.or.th