หน้าหลัก

fgp18

วันที่ 12-13-14-15 มีนาคม 2561
ณ โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส กรุงเทพฯ

หมายเหตุ :
– สถาบันฯ รับสมัครผู้เข้าร่วมหลักสูตร จำนวน 30 ท่าน เท่านั้น โดยพิจารณาจากลำดับการสมัครและการชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 5 มีนาคม 2561
– ค่าลงทะเบียน 28,500 บาท/ท่าน (ไม่รวมที่พัก)
– หากผู้สมัคร ยกเลิก การเข้าร่วมหลักสูตร สถาบันฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการคืนค่าลงทะเบียน แต่จะทำการเลื่อนการเข้าร่วมหลักสูตรไปในรุ่นถัดไป

In-house Training กรุณาติดต่อคุณฉันทลักษณ์โดยตรง

เกี่ยวกับหลักสูตร

โครงการหลักสูตรธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาคณะ
Faculty Governance Programme : FGP

หลักการและเหตุผล

กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565) ซึ่งเป็นแผนแม่บทกำกับการพัฒนาอุดมศึกษาของไทย ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการอุดมศึกษา ไว้ดังนี้ “การสร้างความเปลี่ยนแปลงในมหาวิทยาลัยต้องอาศัยการกำหนดและกำกับนโยบาย (Governance) การบริหารจัดการให้เกิดการปฏิบัติ รวมทั้งการมีผู้นำการเปลี่ยนแปลงสถาบันอุดมศึกษาจำนวนมากประสบปัญหาเนื่องจากความไม่ชัดเจนในบทบาทและขาดความเข้มแข็งการทำหน้าที่การกำกับนโยบาย และการขาดบุคคลากรในระดับที่เกี่ยวข้อง สมควรจัดตั้งองค์กรหรือกลไกพัฒนาผู้กำกับนโยบายและผู้บริหารในลักษณะเดียวกับ Institute of Directors – IOD สร้างกลไกให้พัฒนาผู้บริหารตั้งแต่กรรมการสภามหาวิทยาลัยไปจนถึงผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัย องค์กรดังกล่าวจัดการฝึกอบรม ให้ความรู้ จัดเยี่ยมชม สร้างเครือข่ายเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิด และสนับสนุนการวิจัยองค์กรและนวัตกรรมการบริหารนโยบาย (Governance) และการจัดการ (Management) ใช้องค์กรดังกล่าวผลิตหลักสูตรการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาให้แก่ผู้บริหารทุกระดับตั้งแต่การบริหารระดับสูงคือมหาวิทยาลัย ลงไปถึงคณะ ภาควิชา/สาขา รวมทั้งให้การฝึกอบรมผู้พัฒนาหลักสูตรและผู้สอนอย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดเป็นกระบวนการสร้างความเข้มแข็งให้มหาวิทยาลัยด้วยการสร้างผู้นำ การบริหารนโยบายหรือธรรมาภิบาล และการจัดการ (Leadership, Governance and Management – LMG)”

สถาบันคลังสมองของชาติ มูลนิธิส่งเสริมทบวงมหาวิทยาลัย ได้เล็งเห็นความสำคัญของการนำแนวทางการพัฒนาธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการอุดมศึกษาดังกล่าว มาเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนา และการปฏิรูปอุดมศึกษา โดยกำหนดให้มีโครงการจัดตั้งสถาบันธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย (University Governance Institute: UGI) ขึ้น เพื่อดำเนินพันธกิจตามกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาวฯ ในการผลิตหลักสูตรการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษา โครงการดังกล่าวได้ดำเนินการหลักสูตรธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา (University Governance Program, UGP) สำหรับกรรมการสภามหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา ในการนี้ เพื่อการดำเนินการตามกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาวฯ สถาบันคลังสมองของชาติ โดยโครงการจัดตั้งสถาบันธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย จึงเห็นสมควรจัดทำหลักสูตรธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาคณะ (Faculty Governance Programme, FGP) ขึ้น เพื่อเป็นกลไกพัฒนาคณะกรรมการคณะ

โดยมีวัตถุประสงค์

1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการประจำคณะ ในการบริหารงาน เพื่อพัฒนาศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ให้สอดคล้องกับนโยบายปรัชญาอุดมศึกษา และกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาวฯ ตลอดจนสถานการณ์แวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสถาบันอุดมศึกษา

2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในบริบทของอุดมศึกษาในระดับชาติและสากล ทางด้านการศึกษา ด้านการวิจัยและพัฒนา และด้านคุณภาพของการอุดมศึกษา ตลอดจนประเด็นท้าทายอุดมศึกษาในปัจจุบันและอนาคต

3. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการถ่ายทอดนโยบายจากสภามหาวิทยาลัย ผู้บริหารระดับสูงไปสู่การปฏิบัติ การวางแผนงานและวิธีดำเนินงานที่ชัดเจน การบริหารผลการปฏิบัติงาน การแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน การปรับปรุงพัฒนางานที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ และความคิดเห็นในเรื่องเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของคณะกรรมการคณะ ภายใต้หลักธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการอุดมศึกษาที่ดี

5. เพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพและเครือข่ายความร่วมมือในระหว่างคณะกรรมการคณะ ของสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ อันนำไปสู่ความร่วมมือในการดำเนินงานทั้งภายในและระหว่างหน่วยงานที่มั่นคงและยั่งยืน

ประโยชน์ที่ผู้เข้าร่วมหลักสูตรจะได้รับ

1. มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการประจำคณะ ในการบริหารงาน เพื่อพัฒนาศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ให้สอดคล้องกับนโยบาย ปรัชญาอุดมศึกษา และกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาวฯ ตลอดจนสถานการณ์แวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสถาบันอุดมศึกษา

2. มีความรู้ ความเข้าใจในบริบทของอุดมศึกษาในระดับชาติและสากล ทางด้านการศึกษา ด้านการวิจัยและพัฒนา และด้านคุณภาพของการอุดมศึกษา ตลอดจนประเด็นที่ท้าทายของอุดมศึกษาในปัจจุบันและอนาคต

3. มีความรู้ ความเข้าใจ ในการถ่ายทอดนโยบายจากสภามหาวิทยาลัย ผู้บริหารระดับสูงไปสู่การปฏิบัติ การวางแผนงานและวิธีดำเนินงานที่ชัดเจน การบริหารผลการปฏิบัติงาน การแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน การปรับปรุงพัฒนางานที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ และความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของคณะกรรมการประจำคณะ ภายใต้หลักธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการอุดมศึกษาที่ดี

5. มีโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์และเครือข่ายความร่วมมือในระหว่างคณะกรรมการประจำคณะ ของสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ อันนำไปสู่ความร่วมมือในการดำเนินงานทั้งภายในและระหว่างหน่วยงานที่มั่นคงและยั่งยืน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุดมศึกษาไทยต่อไปในอนาคต

ผู้เข้าร่วมหลักสูตร

กรรมการในคณะกรรมการอำนวยการคณะ คณะกรรมการประจำคณะ คณะกรรมการบริหารคณะ ตลอดจนคณาจารย์ที่มีความสนใจ

เนื้อหาหลักสูตร

1. บริบทและความท้าทายของอุดมศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 : บทบาทและความสำคัญของคณะกรรมการประจำคณะ

ความท้าทายและอนาคตของอุดมศึกษาไทย การยกระดับคุณภาพอุดมศึกษาไทย การพัฒนานิสิตนักศึกษาของประเทศให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณลักษณะสอดคล้องตามความต้องการของสังคมในศตวรรษที่ 21 การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน การสร้างความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาอื่น หน่วยงาน และภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อการยกระดับสู่ความเป็นเลิศในอนาคต การเป็นคณะที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนการดำเนินงานของคณะกรรมการคณะในการนำนโยบายจากสภามหาวิทยาลัย ผู้บริหารระดับสูงไปสู่การปฏิบัติในด้านต่างๆ ทั้งการพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน การวิจัย การพัฒนาบุคลากร และนิสิตนักศึกษา

2. บริบทและความสำคัญของกฎหมาย สำหรับคณะกรรมการประจำคณะ : คำสั่งทางปกครอง ความรับผิดทางปกครอง แพ่ง และอาญา

กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่างๆ และ คำสั่งทางปกครอง ที่คณะกรรมการคณะควรทราบในการดำเนินงาน อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของคณะกรรมการประจำคณะ ในการบริหารจัดการคณะ ความรับผิดที่อาจเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ได้แก่ ความรับผิดทางปกครอง แพ่ง และอาญา ตัวอย่างกรณีศึกษาคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลปกครองที่เกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษา

3. การพัฒนาและการบริหารหลักสูตรของคณะ

การพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ ความพร้อมของมหาวิทยาลัย ความต้องการทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ระบบและกลไกบริหารหลักสูตร และการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและสร้างองค์ความรู้ใหม่ ระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรใหม่ และปรับปรุงหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และการรับรองหลักสูตรจากสภาหรือองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องคณะกรรมการรับผิดชอบในการเปิด ปิด และพัฒนาหลักสูตร

4. การบริหารงานวิจัยและผลิตผลงานทางวิชาการ

แผนการวิจัย ระบบและกลไกการพัฒนางานวิจัยของคณะ การสนับสนุนด้านการจัดหาแหล่งทุนวิจัยและการจัดสรรทุนวิจัย การส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะแก่นักวิจัยการบูรณาการงานวิจัยกับการจัดการเรียนการสอน และพันธกิจด้านอื่นๆ ของคณะ การบูรณาการกระบวนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์กับการบริการวิชาการแก่ชุมชนการนำผลงานงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

5. การบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของคณะ

การพัฒนาคณาจารย์ทั้งด้านวิชาการ เทคนิคการสอนและการวัดผล และการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน กลไกการติดตามให้คณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนนำความรู้และทักษะที่ได้จากการพัฒนามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการวัดผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ตลอดจนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนการให้สวัสดิการเสริมสร้างสุขภาพที่ดี และสร้างขวัญและกำลังใจให้คณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน รวมถึงจรรยาบรรณอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน และกลไกส่งเสริมการดำรงตำแหน่งทางวิชาการ

6. การพัฒนานิสิตนักศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองของประเทศและของโลก

การสร้างเสริมคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์และตามความต้องการของสังคมในศตวรรษที่ 21 บัณฑิตยุคใหม่ในสังคมพหุวัฒนธรรม ผ่านการพัฒนาหลักสูตรเพื่อสร้างพลเมือง การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างเฉพาะตัวของนิสิตนักศึกษา การพัฒนาศักยภาพในการแสวงหาความรู้ของนิสิตนักศึกษาสหกิจศึกษา (Co-operative Education) การเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นิสิตนักศึกษา การจัดกิจกรรมนิสิตนักศึกษา และการจัดบริการด้านต่างๆ ให้นิสิตนักศึกษาและศิษย์เก่า

7. การบริหารการเงินและงบประมาณของคณะ

การบริหารแผนกลยุทธ์การเงินคณะ การจัดสรร และการวางแผนการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ การวิเคราะห์สถานะทางการเงินและความมั่นคงของคณะอย่างต่อเนื่อง ระบบตรวจสอบภายในและภายนอก การจัดหารายได้การระดมทุน (Fund-Raising) การลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม (University’s Socially Responsible Investment : U-SRI) การจัดตั้งกองทุนเพื่อสังคมวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) และการจัดตั้งกองทุนคงยอดเงินต้น (Endowment Fund)

8. การบริหารความเสี่ยงของคณะ

การประเมินความเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยง แผนบริหารความเสี่ยง มาตรการควบคุมวิธีการจัดการความเสี่ยงระดับคณะการบริหารจัดการความเสี่ยงที่สำคัญของคณะ อาทิ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk) ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk) ความเสี่ยงด้านการดำเนินงานด้านต่างๆ (Operational Risk) ได้แก่ การเปิดหลักสูตร การผลิตบัณฑิต การพัฒนาอาจารย์ และบุคลากรของคณะ การวิจัย การบริหารวิชาการแก่ชุมชนและท้องถิ่นและการบริหารจัดการของคณะ ตลอดจนความเสี่ยงจากการไม่ปฏิบัติตามกฎ / ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง (Compliance Risk)

9. การระดมความคิดเห็นเพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการบริหารจัดการคณะอย่างมีประสิทธิภาพ

การปรับปรุงกลไกการบริหารจัดการและการจัดโครงสร้างการบริหารงานของคณะ การพัฒนากลไกและวิธีการทำงานของคณะกรรมการคณะให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน การประชุมที่ดี หรือ “การประชุมที่มีประสิทธิภาพ” ของคณะกรรมการประจำคณะ การดำเนินงานของคณะที่เชื่อมโยงกับนโยบายของสภามหาวิทยาลัยและผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัย การนำรูปแบบและวิธีบริหารจัดการแนวใหม่มาประยุกต์ใช้ เช่น การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Results Based Management – RBM) เป็นต้น ตลอดจนธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการคณะที่ดี

ค่าลงทะเบียน 28,500 บาท ต่อ 1 ท่าน

กำหนดการ

agenda-fgp18

การชำค่าลงทะเบียน

ค่าลงทะเบียน 28,500 บาท ต่อ 1 ท่าน ครอบคลุมค่าใช้จ่าย ดังต่อไปนี้
1. เอกสาร และหนังสือประกอบการอบรมและกระเป๋าปีเก้ 1 ชุด
2. อาหารว่าง (10.00-10.15 น.) และ อาหารว่าง (15.00-15.15 น.)
3. ค่าอาหารกลางวัน 4 วัน
** ทั้งนี้ ค่าลงทะเบียน ไม่รวม ค่าที่พักและค่าเดินทางไปกลับระหว่างสถานที่อบรมถึงภูมิลำเนาของท่าน

การชำระค่าลงทะเบียน
เมื่อท่านลงทะเบียนออนไลน์เรียบร้อยแล้ว ท่านจะได้รับอีเมล์ “แบบชำระค่าลงทะเบียน” และสรุปข้อมูลการลงทะเบียนของท่าน (หากอีเมลแสดงผลไม่สมบูรณ์ กรุณากด Display images…)
payment_ttl_knit

ให้คลิ๊ก “Print” อีเมลดังกล่าว หรือปริ้นไฟล์ PDF ตามไฟล์ที่แนบไป เพื่อนำเอกสารไปชำระเงิน
print_payment_slip

กรุณาพิมพ์แบบชำระเงินไปยื่นที่เคาเตอร์ธนาคารกรุงไทย จำกัด ได้ทุกสาขา
ค่าธรรมเนียมในการโอนเงิน สถาบันคลังสมองของชาติ จะเป็นผู้รับผิดชอบ
กรณีชำระผ่านระบบ ATM ของธนาคารกรุงไทย จำกัด สามารถทำตามขั้นตอน ดังนี้
payment_atm_knit

เมื่อชำระค่าลงทะเบียนแล้ว กรุณายืนยันการชำระค่าลงทะเบียนที่ 02-126-7632-34 ต่อ 122 (รัชนี)

 

ภาพกิจกรรม

หากท่านไม่สามารถเข้าดูภาพกิจกรรมได้
กรุณา ADD FRIEND UGIKNIT ได้ที่ : https://www.facebook.com/ugiknit

ติดต่อ

1. คุณฉันทลักษณ์ อาจหาญ โทร 02-126-7632-34 ต่อ 101 อีเมล์ carjhan1411@gmail.com
2. คุณจริยา สระทองพิมพ์ โทร 02-126-7632-34 ต่อ 108 อีเมล์ jariya@knit.or.th